วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2558

การแสดง/การละเล่น

การแสดง/การละเล่นของชนเผ่าไทโส้



      ในเดือนสามนี้นครพนมจะมีประเพณีที่เด่น ๆ เช่น ประเพณีโซ่ทั่งบั้งของชาวไทโซ่ บ้านโพนจาน ตำบลโพนจาน อำเภอโพนสวรรค์และชาวไทยโซ่ ตำบลพะทาย อำเภอท่าอุเทน ชาวไทโซ่กลุ่มนี้อยู่ในตระกูลเดียวกับพวกข่า (เผ่าพันธุ์เดียวกันกับขอมโบราณและมอญเขมร เช่นเดียวกับพวกไทยข่า ) ถิ่นฐานเดิมของไทยโซ่อยู่ที่เมืองมหาชัยเดิมเรียกว่าภูวานากระแด้ง (ไทโซ่มีอยู่มากในแขวงคำม่วนและแขวงสุวรรณเขตประเทศลาว)อพยพเข้ามาอยู่ในดินแดนภาคอีสาน แถบลุ่มแม่น้ำโขงในสมัยรัชกาลที่ ๓   ประเพณีโซ่ทั่งบั้ง นิยมทำกันในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ เพื่อบอกกล่าวและเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูที่มีต่อบรรพบุรุษที่ให้ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์และมีความสุข โซ่ทั่งบั้งนี้ ชาวไทโซ่ทั่วไปเรียกว่า แซงสนาม" หรือ เหยา" (เยา)
      โดยจัดพิธีเริ่มอัญเชิญผีมูลหรือผีบรรพบุรุษมาสิงสู่ในร่างกายของผู้เหยา หรือผู้รำ ผู้รำก็จะออกมาแสดงท่าร่ายรำประกอบคำร้อง ใช้ฆ้อง กลอง ฉิ่ง ฉาบ พิณ แคน ซอ ปี่ และที่สำคัญคือ กระบอกไม้ไผ่ ๓ ปล้อง กระทุ้งเป็นจังหวะ ผู้รำจะรำท่าต่าง ๆ ตามแต่ว่าผีที่สิงจะมีท่ารำอย่างไร การรำจะมีทั้งสิ้น ๔-๕ รอบ ซึ่งก่อนรำจะเริ่มจากการเหยา (เยา)
รอบที่ ๑ อัญเชิญบวงสรวงผู้มีฝีมือ นักรบ นักดาบ นักมวย
รอบที่ ๒ ไปคล้องช้าง คล้องม้า เพื่อเป็นพาหนะในการสู้รบ
รอบที่ ๓ เป็นการแสดงออกซึ่งความเป็นอยู่ของไทยโส้ ด้านการทำกิน ทำไร่ ทำสวน ล่าสัตว์
รอบที่ ๔ เป็นการเผาไร่ เพื่อเตรียมที่จะเพาะปลูก
รอบที่ ๕ จะเป็นการร้องรำ เพื่อแสดงเอกลักษณ์โดยเน้นที่ความสนุกสนาน
     โซ่ทั่งบั้ง  ถึงแม้จะกำเนิดมาจากพิธีกรรมงานศพ ที่เรียกว่า ซางกะมูด และในพิธีเจียดอง คือ ทำบุญให้แก่พ่อแม่ฝ่ายหญิงซึ่งง่ายชายสัญญาไว้ก่อนจะทำบุญให้ โซ่ทั่งบั้งในฐานะการฟ้อนรำ การแสดงโซ่ทั่งบั้งตามแบบโบราณ ได้รับการจำลองแบบให้เป็นการฟ้อนโดยประยุกต์ท่ารำจากท่ารำมาตรฐานกรมศิลปกรรมสมกับจำลองท่าฟ้อนตามความเชื่อเรื่องผีวิญญาณผีฟ้าผีแถนเพื่อแสดงเป็นครั้งแรกในงานเทศกาลสงกรานต์จังหวัดสกลนคร พ.ศ.2521 โดยท่าฟ้อน 7 ท่า ดังนี้ ท่าเชิญผีฟ้า ท่าส่งผีฟ้า ท่าทั่งลั้ง ท่าถวายดอกไม้และท่าเกี่ยวแขนรำในด้านการแต่งกายสตรีนักฟ้อนที่นิยมแต่งแบบชาวโซ่โบราณจะเกล้าผมทรงสูงทรงมวย มีฝ้ายสีขาวมัดมวยผมสวมเสื้อผ้าฝ่ายแขนยาวสามส่วนสีดำ หรือย้อมครามติดกระดุมเงินนุ่งซิ่นมัดหมี่ต่อหัวต่อเชิ่งห่มไปด้วยผ้าเก็บดอกหรือผ้าขิดไม่สวมรองเท้าส่วนเครื่องประดับนิยมใช้เครื่องประดับที่ทำด้วยเงินเช่น ต่างหู สร้อยคอ กำไรข้อมือ กำไลข้อเท้า ในปัจจุบัน ว่าจะมีการฟ้อนแสดงความเชื่อในพิธีทั่งบั้ง แต่ชาวโซ่ที่กุสุมาลย์ก็ยังนิยมแสดงโซ่ทั่งบั้งในพิธีเหยาคนป่วยไข้ไปพร้อม ๆ กันด้วย ชาวโซ่เชื่อว่าวิญญาณที่ทำให้เจ็บป่วยได้นั้น อาจเกิดจากวิญญาณของผี หลายชนิด  เช่น  ผีฝ้า ผีมูล ผีกระกูล ซึ่งโดยเงื่อนไขทีหมอเยาเสนอให้ถ้าหากเป็นที่พอใจแล้ววิญญาณผีจะออกจากร่างผู้ป่วยอาการเจ็บไขจะทุเลาลงและหายได้ ในขณะที่หมอเยาซักถามอาการมีการดูดเหล้าไหกันอยู่นั้นคนไข้แม้จะเจ็บป่วยก็จะลุกขึ้นมาร่ายรำเข้ากับเสียงแคนได้   สิ่งที่ประกอบในการแสดงโซ่ทั่งบั่งนอกจากจะมีกลุ่มนักฟ้อนรำสตรีและกลุ่มสาธิตแสดงการเหยาคนป่วยแล้ววิ่งที่ขาดไม่ได้คือ กลุ่มนักดนตรีและผู้ที่ถือท่อนกระบอกไม้ไผ่ยาว 3 ปล้อง กระทุ้งดิน เป็นจังหวะ ตามเสียงกลองสิ่งนั้นคือความหมายของ "ทั่งบั้ง" ของเดิมนั้นเอง
รำโซ่ทั่งบั้งของอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร
      เป็นการรำประกอบพิธีเหยา มีวัตถุประสงค์เพื่ออัญเชิญวิญญาณของบรรพบุรุษให้มาช่วยเหลือดูแล แนะนำ บันดาล ให้อยู่เย็นเป็นสุขหายจากความเจ็บไข้ได้ป่วย
การรำโส้ทั่งบั้งของโส้อำเภอกุสุมาลย์มีท่ารำ ๕ ท่า คือ

๑. ท่าเชิญผีฟ้า  เพื่อเชิญวิญญาณบรรพบุรุษที่เข้าทรงหมอเหยาให้มาร่วมสนุกสนาน
๒. ท่าทั่งบั้ง      เป็นท่ากระแทกกระบอกไม้ใผ่ลงดินเป็นจังหวะ
๓. ท่าถวายแถน          เพื่อแสดงความเคารพบรรพบุรุษ
๔. ท่าส่งผีฟ้า    เพื่อเชิญวิญญาณบรรพบุรุษให้ตรวจตราสอดส่องดูแลผู้คนรอบๆ บริเวณที่รำ

๕. ท่าเลาะตูบ   เพื่อติดตามวิญญาณบรรพบุรุษที่กำลังตรวจตราสอดส่องดูแลรอบๆ บริเวณที่รำก่อนออกจากร่างทรง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น