วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2558

พิธีกรรม/ความเชื่อของชาวไทโส้


พิธีกรรม/ความเชื่อ






พิธีศพและการเชิญวิญญาณผู้ตายคืนเรือนของชาว ไทโซ่
        ชาวไทโส้ หรือ กะโซ่ ในเขตอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร เป็นชนกลุ่มน้อยที่มีภาษาพูด และพิธีกรรมแตกต่าง ไปจากกลุ่มวัฒนธรรมไทย-ลาว โดยเฉพาะพิธี ปลงศพของชาวโซ่นั้นเป็นพิธีกรรมทางภูติ ผี (แต่เดิมไม่มีพิธีทางพุทธศาสนา) โดยเฉพาะในพิธีงานศพชาวโส้นั้นมีพิธี ทำให้ผู้ตายไม่เป็นผีดิบ เรียกว่า " ซางกะมูด"โซ่ทั่งบั้งในพิธีศพ(ซางกะมูด)ถูกดัดแปลงมาใช้ในการแสดงวิธีเยารักษาคนไข้  ชาวโซ่ หรือ กะโซ่ หรือ กะโซ่ เป็นชนเผ่าหนึ่งที่ใช้ภาษาเหมือนกับกู ย (ส่วย) คือ ภาษาเดียวกันออกเสียงเพี้ยน กันบ้าง ตามลักษณะภาษาถิ่น แต่คำพื้นฐานของ ภาษาโซ่ และกูย นั้นตรงกันเป็นส่วนใหญ่ มีบางคำประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นต์ เป็นคำที่ ใช้เฉพาะเผ่าพันธุ์ ชาวกะโซ่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ ที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร อำเภอท่านอุเทน จังหวัดนครพนม บางตำบล อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ตำบลดงหลวงและใกล้เคียง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร บางตำบลของอำเภอ โซ่พิสัย จังหวัดหนองคาย
          ชาวไทโส้มีผิวคล้ำ กว่าไทย-ลาว ถิ่นฐานเดิมของชาวไทโส้ อยู่ที่เมืองมหาชัย กองแก้ว และแขวงเมืองคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อพยพเข้ามาอยู่ ในภาคอีสานสมัยรัชกาลที่ 3 หลังปราบกบฏ เจ้าอนุวงศ์ ชาวไทโส้ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่เป็น กลุ่มก้อน ได้แก่ อำเภอกุสุมาลย์ มีเจ้าเมืองเป็นชาว กะโซ่ ดังที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุ ภาพเขียนเมื่อครั้งตรวจราชการมณฑลอุดร พ. ศ.2449 ว่า "
ฉันได้เห็นการเล่นอย่าง หนึ่ง ซึ่งพระอรัญอาสา เจ้าเมืองกุสุมาลย์มณฑล เอามา ให้ดู เรียกว่า "สะลา"คนเล่นล้วนแต่ เป็นผู้ชายเปลือยตัวเปล่า นุ่งผ้าขัดเตี่ยวมี ชายห้อยข้างหน้า และข้างหลัง อย่างเดียวกับชาว เงาะนุ่ง "เลาะเตี้ยะ" ลักษณะที่เล่นนั้น มีหม้ออุ ตั้งอยู่กลางหม้อหนึ่ง คนเล่นเดิน เป็นวงรอบหม้ออุ มีต้นบทนำขับร้อง คนหนึ่ง สะพายหน้าได้คนหนึ่ง ตีฆ้องเรียกว่า "พเนาะ" คนหนึ่ง ถือชามติดเทียนสองมือ คนหนึ่งถือตะแกรง คนหนึ่งถือมีดกับสิ่งเคาะ กันเป็นจังหวะคนหนึ่ง รวมแปดด้วยกัน กระบวนการ เล่นก็ไม่มีอะไรนอกจากเดินร้องรำเวียน เป็นวงเล่นพักหนึ่งแล้วก็นั่งลงกินอุ แล้วก็ร้องรำไปอีก อย่างนั้นเห็นได้ว่า เป็นของพวกข่าตั้งแต่เป็นคนป่า…" การ เล่นดังกล่าวคือพิธีกรรมเซ่นผีของชาวกะโซ่เรียกในปัจจุบันว่า "โซ่ทั่งบั่ง"เมื่อผีเข้าประทับร่าง หมอเยาและคนไข้จะลุกขึ้นฟ้อนรำ
          การแต่งกาย ผู้ชายกะโซ่ปัจจุบัน แต่งกายเหมือน ไทยลาว สมัยอดีตนุ่งผ้ากะเตี่ยว หากชายผู้ ใดเรียนอาคมไสยศาสตร์ จะใส่ลูกประคำแก้วคล้อง คอเป็นสัญลักษณ์ด้วย หญิงจะใส่เสื้อสีดำแขน กระบอกเลยข้อศอกลงมาเล็กน้อย ผ่าอกขลิบ แดงปล่อยให้เลยชายเสื้อลงไป 2 - 3 นิ้ว กระดุมเงินกลม หรือเงินเหรียญเท่าที่หาได้ ชายเสื้อด้วนข้างแหวกชายสองข้าง ใช้ด้ายแดง ตกแต่งขอบชายเสื้อ คอเสื้อ และปลายแขน ชายเสื้อจะมีด้ายแดงปล่อยให้เลยห้อยลงมา ตรงเองทั้งสองด้าน 2 - 3 ปอยผ้านุ่ง ให้ผ้ามัดหมี่ ฝ้ายสีน้ำเงิน - ขาว ต่อตีน ซิ่นและหัวซิ่นด้วยผ้าแถบสีสันสวยงาม ทรงผมผู้หญิงจะเกล้ามวยสูง เรียกว่า " มะยวล" มนงานพิธีนุ่งผ้าไหม ใส่กำไล ข้อมือ ข้อเท้า สร้อยเงิน ตุ้มหู ตามฐานะ ห่ม ผ้าสไบทับเสื้อด้วย





พิธีกรรม "โซ่ถั่งบั้ง" 





           เป็นพิธีกรรมของชาวไทโส้ คำว่า "โซ่" หมายถึงพวกกะโซ่, คำว่า "ถั่ง" หมายถึงกระทุ้งหรือกระแทก คำว่า "บั้ง" หมายถึงบ้องกระบอกไม้ไผ่ โซ่ถั่งบั้งก็คือพิธีกรรมใช้กระบอก ไผ่ยาวประมาณ 3 ปล้อง กระทุ้งดินเป็นจังหวะแล้วมีการร่ายรำและร้องไปตามจังหวะในพิธีกรรม ของชาวกะโซ่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เมื่อครั้งเสด็จตรวจราชการมณฑลอุดร เมื่อเสด็จถึงเมืองกุสุมาลย์มณฑล (อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร) เมื่อ พ.ศ.2449 ได้ทรงบันทึกการแสดงพิธีกรรมโซ่ถั่งบั้ง หรือสลาของชาวกะโซ่เมืองกุสุมาลย์มณฑลไว้ว่า  "สลามีหม้อดอนตั้งกลางแล้วมีคนต้นบทคนหนึ่ง คนสะพายหน้าไม้และลูกสำหรับยิงคนหนึ่ง คนตีฆ้องเรียกว่าพะเนาะคนหนึ่งคนถึอไม้ไผ่สามปล้องสำหรับกระทุ้งดินเป็นจังหวะสองคน คนถือชามสอง มือสำหรับติดเทียนรำคนหนึ่ง คนถือตระแกรงขาดสองมือสำหรับรำคนหนึ่ง คนถือสิ่วหักสำหรับเคาะจังหวะ คนหนึ่ง รวม 8 คน เดินร้องรำเป็นวงเวียนไปมา พอได้พักหนึ่งก็ดื่มอุและร้องรำต่อไป…"

พิธีเหยา

 



           ในการรักษาความเจ็บป่วยหรือเรียกขวัญคล้าย ๆ กับพิธีกรรมของชาวอีสานทั่วไป เพื่อ เป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยหรือการเรียกขวัญ โดยหมอผีจะทำหน้าที่ล่ามสอบถามวิญญาณของบรรพบุรุษ ว่าได ้กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดล่วงเกินในขนบธรรมเนียมประเพณีไปบ้าง  การเอาศพไว้ที่บ้าน หรือ 4 วันนั้นก็ทำพิธีสวดศพง่ายๆ ให้ญาติพี่น้องมาเคารพศพ ไม่นิยมเอาไปตั้งศาลาที่วัดเหมือนคนในเมือง ก็เอาไว้ที่บ้านนั่นแหละ เมื่อครบกำหนดชาย 4 หญิง 3 แล้ว ญาติก็จะนำเอาไปเผากลางทุ่งนา หรือชายป่า แล้ววันรุ่งขึ้นก็ไปเอากระดูกเอาไปเก็บไว้ที่ “ธาตุ” หรือภาคกลางเรียก “เจดีย์ธาตุ”  ไทโส้ไม่เอากระดูกเข้าบ้าน แต่จะเก็บไว้ที่นา โดยเอาธาตุไปสร้างไว้ตามนาต่างๆ หากเป็นกระดูกพ่อ แม่ ก็จะเอาไปไว้ที่นาของพ่อของแม่นั่นแหละ ทั้งนี้กล่าวกันว่า เพื่อให้พ่อแม่อยู่กับนาเจ้าของที่เขาทำกินมาตลอด และทุกครั้งที่ลูกหลานมาทำนาก็จะระลึก ถึงพ่อแม่ ระลึกถึงคำสั่งสอน คำสั่งเสียต่างๆไปตลอด  
        “ธาตุ” มีที่มาที่ไปด้วย คนอีสานทั่วไป โดยเฉพาะจังหวัดรอบๆริมแม่น้ำโขงรวมไปถึงชุมชนฝั่งประเทศลาวจะเคารพนับถือองค์พระธาตุพนมเป็นที่สุด เหมือนเมกกะชาวพุทธแถบนี้ ครั้งหนึ่งในชีวิตต้องเดินทางไปกราบองค์พระธาตุพนมให้ได้ หากท่านศึกษาประวัติศาสตร์ย่อมทราบดีว่าพระธาตุพนมนั้นสร้างตั้งแต่ประเทศไทยยังไม่ได้ผนวกดินแดนแถบนี้ ดังนั้นพี่น้องฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงจึงหลั่งไหลเข้ามากราบไหว้บูชาตลอดทั้งปี  นอกจากนี้ก็มีพระธาตุอิงฮังที่เมืองสะหวันนะเขตตรงข้ามกับเมืองมุกดาหาร ซึ่งเป็นพระธาตุที่มีความสำคัญทัดเทียมกัน สนใจโปรดดูที่จากการที่พี่น้องในบริเวณนี้เคารพกราบไหว้องค์พระธาตุพนม รวมทั้งไทโซ่ดงหลวงด้วย ยังนิยมเอากระดูกผู้ตายใส่ในเจดีย์ที่มีรูปเหมือนองค์พระธาตุพนมมาตั้งแต่โบราณ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น