วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2558

หน้าแรกชนเผ่าไทโส้

                                                                                                              :  ก่อพงษ์ พงษพรชาญวิชช์

 สวัสดีกุสุมาลย์ : ตะเว็นหยอกผะอายข้าวหอมห่วยห่วย แดดเฉียงขึ้นแลสลวยเย้าสมัย อรุณ ณ แดนกุสุมาลย์สำราญใจ แล้งปานใดยังมีกินแกมดิ้นรน ผักหวานดอกกระเจียวเย้าแมงแคง บอกมดแดงออมไข่ไว้หยอกฝน หอมข้าวนึ่งอวยอวนยวนกมล หัวใจหล่นใต้ถุนเรือนยามเยือนเอย
หนังประโมทัยกุสุมาลย์ ลมหายใจที่กำลังรวยริน
เสียงซอซ้อนพิณแคนกับกะโหล่ง ประโมทัยถิ่นเค้ายังคงค้างหว่างสมัย 
ไทซุมบ้านเมืองเฮาบ่แนมเบิ่ง เสียงหันใจห่างฮ้ายไผสิเอื้อพวกปู่ลุง

พระอาจารย์หงส์ อริยวังโส พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ณ แดนไทโส้กุสุมาลย์ ท่านเผยแผ่พุทธวัจนะ อยู่ ณ สถานปฏิบัติธรรมวังสวนกล้วย อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร

แม่นเด๋เนาะยาย..ข้าวน้ำซ่ามปลาหลายมาแต่ได๋ ตาแฮกแรกนาพาอุ่นใจ ว่าจะไคเหมือนทุกปีทางมีกิน ได้ข้าวได้น้ำก่อกรรมดี อวยทานบัดพลีทวีสิน แถนไท้สมทบพรในเพลงพิณ แดนดินคงอุดมคงสมบูรณ์
แม่นบ่อ้าย..นี่คือวิถีความมีกิน หาได้ในแดนดินถิ่นอาศัย ปันแบ่งเอื้อกันและกันไป จึงมีกินและเติบใหญ่โดยใยดี
แสงตาวันเพิ่งจับเรือนยอดไม้ คนหลายเรือนเคลื่อนไหวไวและหวัง ได้ติบข้าวก้าวลาเรือนเหมือนชินชัง ยามเห็นฝั่งฟากทางเหมือนอย่างจะดี แวะตลาดโดยตลอดจอดจับจ่าย ซื้อของกินอันเรียงรายคุ้นกลิ่นสี จากนั้นจ้ำจำจักเร่งจรลี งานเงินมีมากมายแถวในเมือง
ตึ้ง ตึ้ง ตึ้ง ตึ้ง ตึ้ง ตึ้งตึ้งตึ้ง จังหวะชึ่งโป๊ะญอกญอนใจไผ บุญเดือนสามมายามกันปันบุญไท เอากลองใหญ่มาบรรเลงเส็งลายกลอง ปู่ก็โจ๊ะหลานก็โจ้นโทนโทนโทะ จังหวะโป๊ะตึ้งตึ้งตึงหนึ่งหรือสอง บุญเดือนสามยามเยือนกันลั่นลายกลอง ฮักพี่น้องเผ่าพงศ์เป็นวงไท
 แม่นบ่อาว ชีวิตมีเรื่องราวหลากและหลาย อันนั้นอันนี้มีต้นปลาย ย่ายายปู่กะตาเคยว่าเป็นกลอน อยากให้โลกโศกรันทดสลดสุด ก็ร่ำให้อย่าหยุดแหละขวัญอ่อน อยากให้หล้าฮาเฮก็เห่พร ขับลำอ้อนต่อเต้ยเอยโอเพลิน





credit by FB :https://www.facebook.com/gorbhonggp
                          :  ก่อพงษ์ พงษพรชาญวิชช์

การแต่งกายของชนเผ่าไทโส้

การแต่งกายของชนเผ่าไทโส้

         ชายแต่งกายด้วยเสื้อหม้อห้อมและนุ่งโสร่งผ้าไหม มีผ้าขาวม้าโพกหัวและคาดเอว ส่วนผู้หญิงแต่งกายด้วยเสื้อหม้อห้อมและนุ่งผ้าถุงสีดำ เชิงผ้าถุงเป็นตีนจก เข็มขัดเป็นลวดส่วนชุดแต่งกายในการแสดงฟ้อนรำประกอบพิธี ผู้หญิงนุ่งซิ่นสวมเสื้อกระบอกย้อมครามห่มผ้าแถบประดับเครื่องเงินตกแต่ง สร้อยเงิน เข็มขัดเงิน กำไลเงินฯ ผู้ชายแต่งตัวแต่เดิมนุ่งผ้าขัดเตี่ยว

        ชาวไทโส้มีผิวกายดำคล้ำเช่นเดียวกับพวกข่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงกล่าวถึงการแต่งกายของชาวกะโซ่ไว้ในหนังสือเรื่องเที่ยวที่ต่าง ๆ ภาค 4 เมื่อเสด็จภาคอีสาน เมื่อ พ.ศ.2449 ไว้ว่า… "ผู้หญิงไว้ผมสูงนุ่งซิ่นสรวมเสื้อกระบอกย้อม ครามห่มผ้าแถบ ผู้ชายแต่งกายอย่างคนเมืองแต่เดิมว่านุ่งผ้าเตี่ยวไว้ชายข้างหน้าข้างหนึ่ง พวกผู้ชายมีการเล่น เรียกว่า สะลาคือมีหม้ออุตั้งกลางวงแล้วคนต้นปี่คนหนึ่ง คนสะพานหน้าไม้และลูกสำหรับยิงคนหนึ่ง คนตีฆ้องซึ่งเรียกว่าพะเนาะคนหนึ่ง คนถือไม้ไผ่ท่อนสามปล้องสำหรับกระทุ้งดินเป็นจังหวะสองคน คนถือชามสองมือสำหรับติดเทียนรพคนหนึ่งคนถือตะแกรงขาดสองมือสำหรับรำคนหนึ่ง รวมเป็น 8 คน เดินร้องเป็นวงเวียนไปมาพอได้สักพักหนึ่งก็ดื่มอุและร้องรำต่อไป พวกข่ากะโว่นี้กินอาหารไม่ใคร่เลือก เล่ากันว่าพวกนี้ชอบบริโภคเนื้อสุนัข

การแสดง/การละเล่น

การแสดง/การละเล่นของชนเผ่าไทโส้



      ในเดือนสามนี้นครพนมจะมีประเพณีที่เด่น ๆ เช่น ประเพณีโซ่ทั่งบั้งของชาวไทโซ่ บ้านโพนจาน ตำบลโพนจาน อำเภอโพนสวรรค์และชาวไทยโซ่ ตำบลพะทาย อำเภอท่าอุเทน ชาวไทโซ่กลุ่มนี้อยู่ในตระกูลเดียวกับพวกข่า (เผ่าพันธุ์เดียวกันกับขอมโบราณและมอญเขมร เช่นเดียวกับพวกไทยข่า ) ถิ่นฐานเดิมของไทยโซ่อยู่ที่เมืองมหาชัยเดิมเรียกว่าภูวานากระแด้ง (ไทโซ่มีอยู่มากในแขวงคำม่วนและแขวงสุวรรณเขตประเทศลาว)อพยพเข้ามาอยู่ในดินแดนภาคอีสาน แถบลุ่มแม่น้ำโขงในสมัยรัชกาลที่ ๓   ประเพณีโซ่ทั่งบั้ง นิยมทำกันในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ เพื่อบอกกล่าวและเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูที่มีต่อบรรพบุรุษที่ให้ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์และมีความสุข โซ่ทั่งบั้งนี้ ชาวไทโซ่ทั่วไปเรียกว่า แซงสนาม" หรือ เหยา" (เยา)
      โดยจัดพิธีเริ่มอัญเชิญผีมูลหรือผีบรรพบุรุษมาสิงสู่ในร่างกายของผู้เหยา หรือผู้รำ ผู้รำก็จะออกมาแสดงท่าร่ายรำประกอบคำร้อง ใช้ฆ้อง กลอง ฉิ่ง ฉาบ พิณ แคน ซอ ปี่ และที่สำคัญคือ กระบอกไม้ไผ่ ๓ ปล้อง กระทุ้งเป็นจังหวะ ผู้รำจะรำท่าต่าง ๆ ตามแต่ว่าผีที่สิงจะมีท่ารำอย่างไร การรำจะมีทั้งสิ้น ๔-๕ รอบ ซึ่งก่อนรำจะเริ่มจากการเหยา (เยา)
รอบที่ ๑ อัญเชิญบวงสรวงผู้มีฝีมือ นักรบ นักดาบ นักมวย
รอบที่ ๒ ไปคล้องช้าง คล้องม้า เพื่อเป็นพาหนะในการสู้รบ
รอบที่ ๓ เป็นการแสดงออกซึ่งความเป็นอยู่ของไทยโส้ ด้านการทำกิน ทำไร่ ทำสวน ล่าสัตว์
รอบที่ ๔ เป็นการเผาไร่ เพื่อเตรียมที่จะเพาะปลูก
รอบที่ ๕ จะเป็นการร้องรำ เพื่อแสดงเอกลักษณ์โดยเน้นที่ความสนุกสนาน
     โซ่ทั่งบั้ง  ถึงแม้จะกำเนิดมาจากพิธีกรรมงานศพ ที่เรียกว่า ซางกะมูด และในพิธีเจียดอง คือ ทำบุญให้แก่พ่อแม่ฝ่ายหญิงซึ่งง่ายชายสัญญาไว้ก่อนจะทำบุญให้ โซ่ทั่งบั้งในฐานะการฟ้อนรำ การแสดงโซ่ทั่งบั้งตามแบบโบราณ ได้รับการจำลองแบบให้เป็นการฟ้อนโดยประยุกต์ท่ารำจากท่ารำมาตรฐานกรมศิลปกรรมสมกับจำลองท่าฟ้อนตามความเชื่อเรื่องผีวิญญาณผีฟ้าผีแถนเพื่อแสดงเป็นครั้งแรกในงานเทศกาลสงกรานต์จังหวัดสกลนคร พ.ศ.2521 โดยท่าฟ้อน 7 ท่า ดังนี้ ท่าเชิญผีฟ้า ท่าส่งผีฟ้า ท่าทั่งลั้ง ท่าถวายดอกไม้และท่าเกี่ยวแขนรำในด้านการแต่งกายสตรีนักฟ้อนที่นิยมแต่งแบบชาวโซ่โบราณจะเกล้าผมทรงสูงทรงมวย มีฝ้ายสีขาวมัดมวยผมสวมเสื้อผ้าฝ่ายแขนยาวสามส่วนสีดำ หรือย้อมครามติดกระดุมเงินนุ่งซิ่นมัดหมี่ต่อหัวต่อเชิ่งห่มไปด้วยผ้าเก็บดอกหรือผ้าขิดไม่สวมรองเท้าส่วนเครื่องประดับนิยมใช้เครื่องประดับที่ทำด้วยเงินเช่น ต่างหู สร้อยคอ กำไรข้อมือ กำไลข้อเท้า ในปัจจุบัน ว่าจะมีการฟ้อนแสดงความเชื่อในพิธีทั่งบั้ง แต่ชาวโซ่ที่กุสุมาลย์ก็ยังนิยมแสดงโซ่ทั่งบั้งในพิธีเหยาคนป่วยไข้ไปพร้อม ๆ กันด้วย ชาวโซ่เชื่อว่าวิญญาณที่ทำให้เจ็บป่วยได้นั้น อาจเกิดจากวิญญาณของผี หลายชนิด  เช่น  ผีฝ้า ผีมูล ผีกระกูล ซึ่งโดยเงื่อนไขทีหมอเยาเสนอให้ถ้าหากเป็นที่พอใจแล้ววิญญาณผีจะออกจากร่างผู้ป่วยอาการเจ็บไขจะทุเลาลงและหายได้ ในขณะที่หมอเยาซักถามอาการมีการดูดเหล้าไหกันอยู่นั้นคนไข้แม้จะเจ็บป่วยก็จะลุกขึ้นมาร่ายรำเข้ากับเสียงแคนได้   สิ่งที่ประกอบในการแสดงโซ่ทั่งบั่งนอกจากจะมีกลุ่มนักฟ้อนรำสตรีและกลุ่มสาธิตแสดงการเหยาคนป่วยแล้ววิ่งที่ขาดไม่ได้คือ กลุ่มนักดนตรีและผู้ที่ถือท่อนกระบอกไม้ไผ่ยาว 3 ปล้อง กระทุ้งดิน เป็นจังหวะ ตามเสียงกลองสิ่งนั้นคือความหมายของ "ทั่งบั้ง" ของเดิมนั้นเอง
รำโซ่ทั่งบั้งของอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร
      เป็นการรำประกอบพิธีเหยา มีวัตถุประสงค์เพื่ออัญเชิญวิญญาณของบรรพบุรุษให้มาช่วยเหลือดูแล แนะนำ บันดาล ให้อยู่เย็นเป็นสุขหายจากความเจ็บไข้ได้ป่วย
การรำโส้ทั่งบั้งของโส้อำเภอกุสุมาลย์มีท่ารำ ๕ ท่า คือ

๑. ท่าเชิญผีฟ้า  เพื่อเชิญวิญญาณบรรพบุรุษที่เข้าทรงหมอเหยาให้มาร่วมสนุกสนาน
๒. ท่าทั่งบั้ง      เป็นท่ากระแทกกระบอกไม้ใผ่ลงดินเป็นจังหวะ
๓. ท่าถวายแถน          เพื่อแสดงความเคารพบรรพบุรุษ
๔. ท่าส่งผีฟ้า    เพื่อเชิญวิญญาณบรรพบุรุษให้ตรวจตราสอดส่องดูแลผู้คนรอบๆ บริเวณที่รำ

๕. ท่าเลาะตูบ   เพื่อติดตามวิญญาณบรรพบุรุษที่กำลังตรวจตราสอดส่องดูแลรอบๆ บริเวณที่รำก่อนออกจากร่างทรง



พิธีกรรม/ความเชื่อของชาวไทโส้


พิธีกรรม/ความเชื่อ






พิธีศพและการเชิญวิญญาณผู้ตายคืนเรือนของชาว ไทโซ่
        ชาวไทโส้ หรือ กะโซ่ ในเขตอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร เป็นชนกลุ่มน้อยที่มีภาษาพูด และพิธีกรรมแตกต่าง ไปจากกลุ่มวัฒนธรรมไทย-ลาว โดยเฉพาะพิธี ปลงศพของชาวโซ่นั้นเป็นพิธีกรรมทางภูติ ผี (แต่เดิมไม่มีพิธีทางพุทธศาสนา) โดยเฉพาะในพิธีงานศพชาวโส้นั้นมีพิธี ทำให้ผู้ตายไม่เป็นผีดิบ เรียกว่า " ซางกะมูด"โซ่ทั่งบั้งในพิธีศพ(ซางกะมูด)ถูกดัดแปลงมาใช้ในการแสดงวิธีเยารักษาคนไข้  ชาวโซ่ หรือ กะโซ่ หรือ กะโซ่ เป็นชนเผ่าหนึ่งที่ใช้ภาษาเหมือนกับกู ย (ส่วย) คือ ภาษาเดียวกันออกเสียงเพี้ยน กันบ้าง ตามลักษณะภาษาถิ่น แต่คำพื้นฐานของ ภาษาโซ่ และกูย นั้นตรงกันเป็นส่วนใหญ่ มีบางคำประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นต์ เป็นคำที่ ใช้เฉพาะเผ่าพันธุ์ ชาวกะโซ่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ ที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร อำเภอท่านอุเทน จังหวัดนครพนม บางตำบล อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ตำบลดงหลวงและใกล้เคียง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร บางตำบลของอำเภอ โซ่พิสัย จังหวัดหนองคาย
          ชาวไทโส้มีผิวคล้ำ กว่าไทย-ลาว ถิ่นฐานเดิมของชาวไทโส้ อยู่ที่เมืองมหาชัย กองแก้ว และแขวงเมืองคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อพยพเข้ามาอยู่ ในภาคอีสานสมัยรัชกาลที่ 3 หลังปราบกบฏ เจ้าอนุวงศ์ ชาวไทโส้ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่เป็น กลุ่มก้อน ได้แก่ อำเภอกุสุมาลย์ มีเจ้าเมืองเป็นชาว กะโซ่ ดังที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุ ภาพเขียนเมื่อครั้งตรวจราชการมณฑลอุดร พ. ศ.2449 ว่า "
ฉันได้เห็นการเล่นอย่าง หนึ่ง ซึ่งพระอรัญอาสา เจ้าเมืองกุสุมาลย์มณฑล เอามา ให้ดู เรียกว่า "สะลา"คนเล่นล้วนแต่ เป็นผู้ชายเปลือยตัวเปล่า นุ่งผ้าขัดเตี่ยวมี ชายห้อยข้างหน้า และข้างหลัง อย่างเดียวกับชาว เงาะนุ่ง "เลาะเตี้ยะ" ลักษณะที่เล่นนั้น มีหม้ออุ ตั้งอยู่กลางหม้อหนึ่ง คนเล่นเดิน เป็นวงรอบหม้ออุ มีต้นบทนำขับร้อง คนหนึ่ง สะพายหน้าได้คนหนึ่ง ตีฆ้องเรียกว่า "พเนาะ" คนหนึ่ง ถือชามติดเทียนสองมือ คนหนึ่งถือตะแกรง คนหนึ่งถือมีดกับสิ่งเคาะ กันเป็นจังหวะคนหนึ่ง รวมแปดด้วยกัน กระบวนการ เล่นก็ไม่มีอะไรนอกจากเดินร้องรำเวียน เป็นวงเล่นพักหนึ่งแล้วก็นั่งลงกินอุ แล้วก็ร้องรำไปอีก อย่างนั้นเห็นได้ว่า เป็นของพวกข่าตั้งแต่เป็นคนป่า…" การ เล่นดังกล่าวคือพิธีกรรมเซ่นผีของชาวกะโซ่เรียกในปัจจุบันว่า "โซ่ทั่งบั่ง"เมื่อผีเข้าประทับร่าง หมอเยาและคนไข้จะลุกขึ้นฟ้อนรำ
          การแต่งกาย ผู้ชายกะโซ่ปัจจุบัน แต่งกายเหมือน ไทยลาว สมัยอดีตนุ่งผ้ากะเตี่ยว หากชายผู้ ใดเรียนอาคมไสยศาสตร์ จะใส่ลูกประคำแก้วคล้อง คอเป็นสัญลักษณ์ด้วย หญิงจะใส่เสื้อสีดำแขน กระบอกเลยข้อศอกลงมาเล็กน้อย ผ่าอกขลิบ แดงปล่อยให้เลยชายเสื้อลงไป 2 - 3 นิ้ว กระดุมเงินกลม หรือเงินเหรียญเท่าที่หาได้ ชายเสื้อด้วนข้างแหวกชายสองข้าง ใช้ด้ายแดง ตกแต่งขอบชายเสื้อ คอเสื้อ และปลายแขน ชายเสื้อจะมีด้ายแดงปล่อยให้เลยห้อยลงมา ตรงเองทั้งสองด้าน 2 - 3 ปอยผ้านุ่ง ให้ผ้ามัดหมี่ ฝ้ายสีน้ำเงิน - ขาว ต่อตีน ซิ่นและหัวซิ่นด้วยผ้าแถบสีสันสวยงาม ทรงผมผู้หญิงจะเกล้ามวยสูง เรียกว่า " มะยวล" มนงานพิธีนุ่งผ้าไหม ใส่กำไล ข้อมือ ข้อเท้า สร้อยเงิน ตุ้มหู ตามฐานะ ห่ม ผ้าสไบทับเสื้อด้วย





พิธีกรรม "โซ่ถั่งบั้ง" 





           เป็นพิธีกรรมของชาวไทโส้ คำว่า "โซ่" หมายถึงพวกกะโซ่, คำว่า "ถั่ง" หมายถึงกระทุ้งหรือกระแทก คำว่า "บั้ง" หมายถึงบ้องกระบอกไม้ไผ่ โซ่ถั่งบั้งก็คือพิธีกรรมใช้กระบอก ไผ่ยาวประมาณ 3 ปล้อง กระทุ้งดินเป็นจังหวะแล้วมีการร่ายรำและร้องไปตามจังหวะในพิธีกรรม ของชาวกะโซ่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เมื่อครั้งเสด็จตรวจราชการมณฑลอุดร เมื่อเสด็จถึงเมืองกุสุมาลย์มณฑล (อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร) เมื่อ พ.ศ.2449 ได้ทรงบันทึกการแสดงพิธีกรรมโซ่ถั่งบั้ง หรือสลาของชาวกะโซ่เมืองกุสุมาลย์มณฑลไว้ว่า  "สลามีหม้อดอนตั้งกลางแล้วมีคนต้นบทคนหนึ่ง คนสะพายหน้าไม้และลูกสำหรับยิงคนหนึ่ง คนตีฆ้องเรียกว่าพะเนาะคนหนึ่งคนถึอไม้ไผ่สามปล้องสำหรับกระทุ้งดินเป็นจังหวะสองคน คนถือชามสอง มือสำหรับติดเทียนรำคนหนึ่ง คนถือตระแกรงขาดสองมือสำหรับรำคนหนึ่ง คนถือสิ่วหักสำหรับเคาะจังหวะ คนหนึ่ง รวม 8 คน เดินร้องรำเป็นวงเวียนไปมา พอได้พักหนึ่งก็ดื่มอุและร้องรำต่อไป…"

พิธีเหยา

 



           ในการรักษาความเจ็บป่วยหรือเรียกขวัญคล้าย ๆ กับพิธีกรรมของชาวอีสานทั่วไป เพื่อ เป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยหรือการเรียกขวัญ โดยหมอผีจะทำหน้าที่ล่ามสอบถามวิญญาณของบรรพบุรุษ ว่าได ้กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดล่วงเกินในขนบธรรมเนียมประเพณีไปบ้าง  การเอาศพไว้ที่บ้าน หรือ 4 วันนั้นก็ทำพิธีสวดศพง่ายๆ ให้ญาติพี่น้องมาเคารพศพ ไม่นิยมเอาไปตั้งศาลาที่วัดเหมือนคนในเมือง ก็เอาไว้ที่บ้านนั่นแหละ เมื่อครบกำหนดชาย 4 หญิง 3 แล้ว ญาติก็จะนำเอาไปเผากลางทุ่งนา หรือชายป่า แล้ววันรุ่งขึ้นก็ไปเอากระดูกเอาไปเก็บไว้ที่ “ธาตุ” หรือภาคกลางเรียก “เจดีย์ธาตุ”  ไทโส้ไม่เอากระดูกเข้าบ้าน แต่จะเก็บไว้ที่นา โดยเอาธาตุไปสร้างไว้ตามนาต่างๆ หากเป็นกระดูกพ่อ แม่ ก็จะเอาไปไว้ที่นาของพ่อของแม่นั่นแหละ ทั้งนี้กล่าวกันว่า เพื่อให้พ่อแม่อยู่กับนาเจ้าของที่เขาทำกินมาตลอด และทุกครั้งที่ลูกหลานมาทำนาก็จะระลึก ถึงพ่อแม่ ระลึกถึงคำสั่งสอน คำสั่งเสียต่างๆไปตลอด  
        “ธาตุ” มีที่มาที่ไปด้วย คนอีสานทั่วไป โดยเฉพาะจังหวัดรอบๆริมแม่น้ำโขงรวมไปถึงชุมชนฝั่งประเทศลาวจะเคารพนับถือองค์พระธาตุพนมเป็นที่สุด เหมือนเมกกะชาวพุทธแถบนี้ ครั้งหนึ่งในชีวิตต้องเดินทางไปกราบองค์พระธาตุพนมให้ได้ หากท่านศึกษาประวัติศาสตร์ย่อมทราบดีว่าพระธาตุพนมนั้นสร้างตั้งแต่ประเทศไทยยังไม่ได้ผนวกดินแดนแถบนี้ ดังนั้นพี่น้องฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงจึงหลั่งไหลเข้ามากราบไหว้บูชาตลอดทั้งปี  นอกจากนี้ก็มีพระธาตุอิงฮังที่เมืองสะหวันนะเขตตรงข้ามกับเมืองมุกดาหาร ซึ่งเป็นพระธาตุที่มีความสำคัญทัดเทียมกัน สนใจโปรดดูที่จากการที่พี่น้องในบริเวณนี้เคารพกราบไหว้องค์พระธาตุพนม รวมทั้งไทโซ่ดงหลวงด้วย ยังนิยมเอากระดูกผู้ตายใส่ในเจดีย์ที่มีรูปเหมือนองค์พระธาตุพนมมาตั้งแต่โบราณ